คำถามที่พบบ่อย


คำตอบ :

ไม่เหมือน เป็นคนละโครงการกันแต่มีวัตถุประสงค์คล้ายกัน มรดกโลก (World Heritage) เป็น โครงการภายใต้อนุสัญญาสากลว่าด้วยมรดกโลกของยูเนสโก (International Convention on World Heritage of UNESCO) เพื่ออนุรักษ์สถานที่หรือแหล่งมรดกสำคัญพิเศษที่โดดเด่น มีคุณค่าเป็นสากล มี 3 ประเภท คือ

  1. มรดกโลกในด้านวัฒนธรรม
  2. สถานที่หรือมรดกโลกด้านธรรมชาติ
  3. มรดกโลกที่โดดเด่นทั้งวัฒนธรรมและธุรรมชาติ

โดยมีคณะกรรมการระหว่างประเทศที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมประเทศสมาชิกทั่วโลกเป็นผู้พิจารณาขึ้น ทะเบียนมรดกโลก ส่วนมรดกความทรงจำโลก (Memory of the World) เป็นโครงการที่เกิดขึ้นที่เหลังเพื่อ อนุรักษ์มรดกทางด้านการสื่อสาร (Documentary Heritage) ที่มีความสำคัญทั้งในแง่ของ "สื่อ" หรือวัสดุที่ บรรจุหรืบันทีกข้อความที่สำคัญไว้ และทั้ง เนื้อหาสาระ" ที่ได้บันทีกไว้บนสื่อหรือวัสดุนั้น ๆ แต่ไม่มี อนุสัญญานานาชาติที่รองรับเพียงแต่มีคณะกรมการที่ปรึกษาของยูเนสโกที่ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกแต่งตั้ง ขึ้นพิจารณาและเสนอแนะต่อยู่เนสโกเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนมรดก ความทรงจำโลก

คำตอบ :

วัตถุประสงค์สำคัญ ๆ ได้แก่

  1. เพื่อแสวงหาและรวบรวมมรดกความทรงจำที่ได้บันทีกไว้ให้เป็นระบบที่ดี เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ศึกษาวิจัยอ้างอิงได้สะดวก
  2. เพื่อนุรักษ์มรดกความทรงจำของชุมชนในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคระดับโลกไว้มิให้สูญหายหรือถูกทำลาย
  3. เพื่อส่งเสริมให้จัดทำระบบที่มีระเบียบเพื่อเก็บรักษา และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยอนุรักษ์ต้นฉบับจริงไม่เสื่อมโทรมล แต่อาจทำสำเนาเพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า
  4. ส่งเสริมความตระหนักในความสำคัญของมรดกความทรงจำใเกิดขึ้นในประชาชนและชุมชนทั่วโลก
คำตอบ :

มรดกความทรงจำเป็นโครการภายใต้โครงการใหญ่ด้านการสื่อสารมวลชนของยูเนสโก จึงเน้นที่จะอนุรักษ์มรดกที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเอกสาร แต่บางประเทศก็มีเอกสารบันทึกมากกว่าบางประเทศจึงได้เปรียบกว่า ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเพาะประเทศในโลกที่สาม เช่น อเมริกา คาริบเบียน และเอเซีย มีชุมชนทางวัฒนธรรม (Cultural communities หรือ traditionalcommunities) บางกลุ่มที่ไม่ได้จดบันทึก "ความทรงจำ" ของชุมชนไว้เป็นรูปเอกสารและหนังสือ แต่บนใบลาน บนหิน บนหนังสัตว์ หรือบันทึกเป็นรูปลักษณ์ของภาพเขียนสัญลักษณ์ หรือเบ็นนิทานตำนานประวัติศาตร์บอกเล่า ฯลฯ ดังนั้นโครงการมรดกความทรงจำโลกในปัจจุบันจึงได้ขยายความนิยามรวมไปถึงมรดกความทรงจำเหล่านั้นด้วย ตลอดจนรวมไปถึงดนตรี ภาพยนตร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ด้วย

คำตอบ :

ทั้ง "สื่อ" และ "สาระ" มีคุณคำและมีความสำคัญมาก ดังนั้นจึงควรอนุรักษ์ตันฉบับดั้งเดิม ในรูปแบบตั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด และอาจจะโอนย้ายข้อความหรือสระไปเก็บรักษาไว้ในสื่อรูปแบบอื่นก็ได้ เช่น สำเนา หรือบันทึกใน CD เพื่อจะได้จะต้องไม่รบกวนการอ่านจากต้นฉบับเดิมมากเกินไป เช่น ศิลาจารึกของจริงอาจจะชำรุดและปราะบาง ควรก็บรักษาไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิและความขึ้นคงที่ไม่ให้ประชาชนมาแตะต้องโดยตรง แต่ควรโอนย้ายสาระเนื้อหาบนศิลาจารึกไปเก็บรักษาในรูปของสำเนาชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย สำเนาหนังสือ หรือดิจิตัล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึง หรือใช้ได้สะดวก หรือ ผ้าซึ่งมีลวดลายเป็นสัญลักษณ์และอักษรที่สำคัญ มีเรื่องราวตำนานของชุมชน ควรเก็บรักษาไว้ไมให้คนสัมผัสโดยตรง แต่ควรทำสำเนา เช่น รูปถ่าย หรือสื่ออื่น ๆ ที่ใช้ศึกษา อ้างอิง ไว้โดยไม่ต้องไปสัมผัสกับของจริง

คำตอบ :

มรดกความทรงจำเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อประวัติศสตร์ เป็นภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ของชุมชน หรือสังคมและบางกรณีก็มีความสำคัญในระดับชาติหอระดับโลก แต่มรดกความทรงจำที่บันทึกไว้เป็นเอกสารและรูปแบบอื่น ๆ ก็อาจตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงอันตรายต่อการสูญหาย เสื่อมสลาย เสื่อมคุณค่า เช่น ถูกโจรกรรม ถูกไฟไหม้ ถูกตัดต่อ บิดพลิ้ว เปลี่ยนแปลง หรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสียจริยธรรม และเอาเปรียบทางพาณิชย์ทำให้เสื่อเสียแก่จ้าของวัฒนธรรมหรือชุมชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอนุรักษ์ไว้ และส่งเสริมให้เจ้าของได้แก่สมาชิกของชุมชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าถึงและศึกษาและเข้าใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสียจริยธรม และเอาเปรียบทางพาณิชย์ทำให้เสื่อมเสียแก่เจ้าของวัฒนธรรมหรือชุมชน ดังนั้น จึงจำป็นต้องอนุรักษ์ไว้ และส่งเสริมให้เจ้าของได้แก่สมาชิกของชุมชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าถึงและศึกษาและเข้าใช้ประโยชนให้กว้างขวางขึ้น และดูแลในเรื่องจริยธรรมและลิขสิทธิ์หรือผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมทางพาณิชย์

คำตอบ :

มรดกความทรงจำของสังคมของสังคมทุกระดับล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น แต่ชุมชนหรือท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของ ต้องตระหนักในคุณค่และรู้จักก็บรักษาไว้ ตลอดจนจัดระบบให้มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางสติบัญญาของชุมชนและของโลกต่อไป ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์อาจมีได้ จึงควรมีการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำและจดลิขสิทธิ์หากจำเป็น หรือจัดทำระเบียบปฏิบัติในการนำเอกสารและสาระในอกสารไปใช้ประโยชน์อย่างน้อย ๆ ควรต้องระบุที่มาของแหล่งมรดกนั้น ๆ หรือระบุการได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และหากมีประโยชน์ทางการค้า ควรมีการแบ่งประโยชน์โดยเป็นธรรม

คำตอบ :
  1. ยูเนสโกมีแบบฟอร์มสำหรับคณะกรรมการความทรงจำในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ หรือเอกชนที่เป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองมรดกความทรงจำจะต้องกรอกรายละเอียดเสนอผ่านคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก เพื่อเสนอขอให้ ยูเนสโกพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำโลกได้ไหม
  2. การพิจรณาตัดสิน ทำโดยคณะกรรมการกลั่นกรองด้านการขึ้นทะเบียนของคณะกรมการที่ปรีกษาในโครงการมรดกความทรงจำโลก ของยูเนสโก โดยมีแนวทางการพิจารณา ดังนี้
    • เป็นของจริงไม่ปลอม
    • มีความสำคัญระดับโลก มีความโดดเด่น ไม่เหมือนใคร หาเอกสารอื่น ๆ มาทัดเทียมหรือมาแทนไม่ได้
    • เป็นเอกสารที่บันทึกไว้โดยมีเจตนาจะจดบันทึกเป็นหลักฐานในช่วงเวลาที่รู้ชัดแน่นอน ในพื้นที่หรือสถานที่ที่มีจริงในเนื้อเรื่องที่สำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
    • มีเจ้าของมรดก และมีผู้ดูแลรักษาซึ่งเต็มใจให้เสนอจดทะเบียนมรดกโลก
    • มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สะดวก
    • มีสถานภาพทางลิขสิทธิ์ ที่ไม่เป็นอุปสรรค์ ฯลฯ
    • มีแผนการบริหารจัดการและดูแลรักษาใช้ประโยชน์ที่ดี
    • มีการปรึกษาหารือและได้รับความเห็นชอบจากจ้าของมรดกและหน่วยงานในระดับชาติแล้วจึงเสนอมายังหน่วยมรดกความทรงจำโลกได้
    • ไม่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยด้านต่าง ๆ ทุกประการ

การตัดสินใจครั้งสุดท้ายในดุลพินิของคณะกรมการที่ปรึกษาของยูเนสโก โดยพิจารณาจากข้อมูลและคำชี้แจงที่เขียนสอไปโดยละเอียดแล้ว และผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกที่ปารีสเป็นผู้ลงนามในประกาศนียบัตรขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำโลก และส่งใบประกาศนียบัตรให้ผู้เสนอหรือเจ้าของ เก็บรักษาไว้ จึงจะมีผลสมบูรณ์

คำตอบ :

มรดกความทรงจำมีหลายรูปลักษณ์ และมีหลายระดับดังได้อธิบายแล้ว และอาจเป็นมรดกของครอบครัว ของชนผ่า ของชุมชน ของอนุภูมิภาค/ภูมิภาค ของชาติ หรืออาจเสนอไปเป็นมรดกความหงจำของโลกได้ ผู้ป็นเจ้าของและผู้เก็บรักษา มีหลากหลายประเภท อาจเป็นห้องสมุดส่วนบุคคล ห้องสมุดมูลนิธิ ของตระกูล หอจดหมายเหตุ หรือพิพิธภัณฑ์ หรือศูนย์วัฒนธรรม หรือวัดในขุมชน หรือในระดับชาติ เจ้าของ/ผู้เก็บรักษา มดกความทรงจำควรตระหนักถึงความสำคัญและมุ่งเน้น ดังนี้

  • รักษาต้นฉบับเดิให้อยู่ในสภาดี ปลอดภัย สะอาด ไม่เสื่อมโทรม ไม่สูญหาย
  • หากมรดกอยู่ในสภาพชำรุดหรือสูญหายบางส่วน หรืปลอมแปลงบางส่วน ควรศึกษาหาทางแก้ไข ซ่อมแซม หาคืน ฯลฯ
  • ควรจัดระบบที่ดี ควบคุมและใช้ประโยชน์ได้ง่าย
  • ควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น แสง ไฟ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น แมลง การปลอดภัยจากโจรกรรมหรือไฟไหม้
  • ควรเคลื่อนย้ายเนื้อหาสาระ ไปเก็บไว้ในที่อื่ เพื่อสงวนรักษาต้นฉบับเดิมไม่ให้ผู้คนมาสัมผัสและใช้ประโยชน์โดยตรง แต่ไปใช้ประโยชน์จากสำเนาหรือรูปแบบที่เคลื่อนย้าย หรือทำสำเนาไว้แล้วแทน (เป็น CD rom, digital, ถ่ายเอกสาร ถ่ายรูป ฯลฯ)
  • หากจะมีความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสี่ยงภัยต่อต้นฉบับ ไม่ควรให้ขอยืมหรือนำต้นฉบับตั้งเดิมออกไปนอกสถานที่เก็บรักษา หรือไปให้ผู้อื่นนอกจากเจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัมผัสกับเอกสารต้นฉบับโดยตรง แต่จัดให้ผู้ต้องการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสำเนาแทน
  • ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อการอนุรักษ์ และส่งเสริมให้มีการเข้าถึงสาระและใช้ประโยชน์จากสาระของมรดกความทรงจำที่ครอบครองอยู่ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
  • หากเป็นมรดกความทรงจำของชุมชนท้องถิ่น หรือชนผ่าที่มิได้มีการบันกไว้เป็นเอกสาร/หนังสือแต่เก็บ และถ่ายทอดกันต่อ ๆ มาในรูปแบบมุขปาระ เช่น ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บทเพลง บทสวดหรือจารึกใบลาน หรือประเพณีที่ประพฤติกันต่อๆ มา
  • แต่ทรงคุณค่ทางสาระเนื้อหาและรูปแบบก็ควรมีการอนุรักษ์ โดยวิธีอื่น เช่น การอัดเทป การบันทึกวีดิโอ การเก็บใบลานมาศึกษา และโอนย้ายหรือแปลข้อความเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย ฯลฯ
  • หากมีปัญหาเรื่องความเป็นเจ้าของมรดกความศักดิ์สิทธิ์ ควรสร้างกฎระเบียบภายในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ และเพื่อให้มีกรอนุญตให้ผู้สนใจใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่เสื่อมเสียถึงคุณค่าของชุมชน
คำตอบ :

มรดกความทรงจำของไทย มีปรากฎในรูปแบบ รูปลักษณะ และในระดับความสำคัญต่างๆ กัน มีทั้งที่ปรากฏเป็นมรดกภูมิบัญญาระดับชาติที่เป็นที่รู้จักในภูมิภาค และนานาชาติแล้ว และมีทั้งที่ปรากฏและกระจัดกระจายในท้องถิ่น ในชุมชนมรดกเหล่านี้ถูกทำลาย สูญหาย และถูกนำออกไปนอกพื้นที่ นอกประเทศเป็นจำนวนมาก โดยนักวิจัยและผู้เห็นประโยชน์เชิงวิชาการ เชิงพาณิชย์ของมรดกความทรงจำต่าง ๆ เหล่านั้น ดังนั้นเพื่อช่วยกันแสวงหาเก็บรวบรวม จัดระบบ อนุรักษ์ และขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำไทยไว้ในระดับต่าง ๆ จึงควรมีเครือข่ายดังนี้

  1. เครือข่ายผู้นำตระกูล ผู้นำชุมชน เก็บรักษามรดกความทรงจำในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ (ระดับชุมชนและท้องถิ่น)
  2. วัด/สุเหร่าโบสถ์ (ในชุมชนและท้องถิ่น/ชาติ/ภูมิภาค/นานาชาติ)
  3. ห้องสมุด (ทุกระดับ)
  4. หอจดหมายเหตุ (ทุกระดับ)
  5. ศูนย์วัฒนธรรม (ทุกระดับ) หออนุรักษ์ภาพยนตร์ ภาพถ่าย เทปดนตรี (ทุกระดับ)
  6. ศูนย์รวม/ศูนย์กลางของหมู่บ้าน (ทุกระดับ)
  7. ผู้สะสมของเก่าที่เป็นมรดกความทรงจำ (ทุกระดับ)

บทบาทของบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้ควรจะเน้นเป็น 3 ระดับ คือ

  1. การแสวงหาและระบุหรือกำหนดความสำคัญของมรดกความทรงจำที่มีความสำคัญคู่ควรแก่การอนุรักษ์ เช่น การขึ้นทะเบียนกับท้องถิ่น การขึ้นทะเบียนระดับชาติ ระดับอนุภูมิภาค ฯลฯ
  2. การดำเนิการอนุรักษ์ตามขั้นตอนเพื่อมิให้เสื่อมสลาย หรือสูญหายไป หรือถูกขาย หรือถูกขโมยนำออกไปนอกสถานที่
  3. การส่งเสริมให้การศึกษา เรียนรู้ ถ่ายทอด สาระ เนื้อหา ให้แก่เยาวชน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาและสร้างสรรใหม่ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหาตั้งอยู่บนภูมิปัญญาตั้งเดิม และเป็นศักดิ์ศรีแก่ชุมชน
  4. จัดระบบการป้องกันคุ้มครอง ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา/หรือลิขสิทธิ์ หากจำเป็นเพื่อช่วยกันการนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบ

สำหรับบทบาทการอนุรักษ์ กับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากมรดกความทรงจำอาจจะฟังดูขัดแย้งกันบ้าง แต่เป้าหมายหลักของการอนุรักษ์มรดกความทรงจำก็คือ ให้สังคม อนาคตจำไว้ไม่ลืม ไม่ใช่อนุรักษ์อยู่ในตู้เหล็ก จนไม่มีคนรู้จัก หรือไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เลย แต่ทั้งนี้ต้องป้องกันมิให้เกิดอันตรายจากการละเมิดหรือจากภัยอื่น ๆ

คำตอบ :

มีบทบาทมาก เพราะการอนุรักษ์เก็บรักษา และเผยแพร่ให้ใช้ประโยชน์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิธีที่ได้ผลตีที่สุด และทันสมัยที่สุดในขณะนี้ แต่ทั้งนี้

  • ต้นฉบับต้องอนุรักษ์ไว้ เพื่อใช้ยืนยันความถูกต้อง และความเป็นของจริง
  • ต้องมีการทำสำเนาเก็บไว้มากกว่า ๑ ชุด ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่ายเอกสาร ถ่ายรูป ซีดี และเก็บไว้ใน web มากกว่า ๑ แห่ง
  • ควรส่งเสริมเชื่อมโยงความรู้กับมรดกความทรงจำที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันที่เก็บไว้อื่น ๆ
  • ควรมีระบบสืบคันได้ง่ย สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ซึ่งอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทได้อย่าง มาก
  • ในอนาคตมรดกเอกสารที่บันทึกใหม่ ๆ จะปรากฎในรูปของอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และสามารถเก็บรักษาและสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตได้ ดังนั้น ห้องสมุดและหอจดหมายเหตุในอนาคต ควรใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ มาช่วยการพัฒนาการอนุรักษ์ และการส่งเสริมการเข้าถึงมรดกความทรงจำให้มากขึ้นด้วย
คำตอบ :

ผู้สนใจในโครงการ MOW (Memory of the World) สามารถอ่านเอกสารโครงการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ของยูเนสโกได้ โดยสืบค้นใน www.unesco.org เช่น

  • โครงการ Intangible Cultural Heritage
  • โครงการ Cultural Diversity
  • โครงการ World Heritage
  • โครงการ Community Mulimedia Centres : UNESCO-CI
  • โครงการ Public Domain : UNESCO-CI
  • โครงการ Slave Trade Archives : UNESCO-CI